น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น กับ น้ำมันมะรุมสกัดเย็น
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในปัจจุบันน้ำมันกลุ่มสกัดเย็นทั้งหลายเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มผู้รักสุขภาพมากขึ้น และด้วยผลจากการใช้ได้พิสูจน์ปากต่อปากว่ามีสุขภาพดีขึ้น บางท่านก็ยังไม่เห็นผล และอีกส่วนก็แย่กว่าเดิม จึงได้นำคุณสมบัติ ความเหมือนและแตกต่างของน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันมะรุม มาอธิบายให้ฟังกันคะ
* น้ำมันมะรุมสกัดเย็น คือ น้ำมันที่บีบอัดจากเมล็ดมะรุมที่ได้จากฝักของมะรุมแก่จัดและแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบผลิตในประเทศและแบบนำเข้าจากอินเดีย ขายแพร่หลายแบบขวดเล็ก ๆ ตั้งแต่ 15 มล. ถึง 1 ลิตร ราคาแพงกว่าน้ำมันมะพร้าว หลายเท่า ขนาด 15 มล.ขายอยู่ที่ 150 บาท ถึง 4000 บาทต่อลิตรเหมาะสำหรับใช้ภายนอกเท่านั้น
นิยมใช้กับใบหน้า และแก้อาการทางผิวหนัง ไม่นิยมนำมารับประทาน
ส่วนประกอบสำคัญ กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ถึง 70 % จึงมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะกอก
ความโดดเด่นคือ กรด Oleic (กรดไขมันไม่อิ่มตัว โมเลกุลเดี่ยว) ซึ่งในน้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดชนิดนี้ถึง 6%
คุณสมบัติของน้ำมันมะรุม คือ
- ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความแก่ก่อนวัยของผิว
- ช่วยบรรเทาการเกิดสิวบนใบหน้า
- ช่วยลดรอยจุดด่างดำของผิวอันเป็นผลจากการโดนแดด หรือการเสื่อมตามวัย
- ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บ และผิวแห้งเพราะเชื้อรา
- ช่วยรักษาแผลสด เนื่องจากเมล็ดมะรุมนั้นประกอบไปด้วยสารฆ่าเชื้อโรค และช่วยลดการอักเสบของบาดแผลจากมีดบาด แผลฟกช้ำ แผลไฟไหม้ แมลงกัดต่อย ผดผื่นและรอยถลอกอย่างรวดเร็ว
น้ำมันมะรุม ประกอบด้วยกรด Palmitoleic, กรด Oleic และกรด Linoleic ซึ่งทั้งหมดมีอยู่ในนำมันมะพร้าวเช่นกัน และมีปริมาณมากกว่าน้ำมันมะรุม น้ำมันมะกอก มีสารฆ่าเชื้อโรคและลดการอักเสบ และยังช่วยรักษาผิวสีแทนให้คงทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกับน้ำมันมะพร้าวทุกประการ
ข้อควรระวังสำหรับการทานมะรุมกับโรค G6PD
Dehydrogenase เป็นเอ็นไซน์หนึ่งที่อยู่ในเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนำคัญในขบวนการ การใช้พลังงาน ปละสร้างสารต่างๆ ในเซลล์
โรคขาดเอ็นไซม์ G-6-PD หรือภาวะพร่องเอนไซน์ จีซิกพีดี
หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โรคแพ้ถั่วปากอ้า (Favism) เป็นโรคทางพันธุกรรม
มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ มีผลกระทบต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การวินิจฉัยโรค ใช้การตรวจสอบทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ได้รับ
oxidizing agents เช่นยาบางชนิดหรือการติดเชื้อในร่างกาย จะทำให้เม็ด
เลือดแดงไม่สามารถทนทานได้ และกินเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน
เกิดซีดเฉียบพลัน ปัสสาวะดำหรือสีเข้มจากสีของฮีโมโกลบิน
และอาจเกิดไตวายได้
สารหรือยาที่ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้บ่อยได้แก่ ยารักษามาเลเรียบางชนิด,
ยาซัลฟา, ยาปฏิชีวนะบางชนิดและถั่วปากอ้า เป็นต้น
นอกจากนี้การติดเชื้อต่างๆ เช่นเป็นไข้หวัด
หลอดลมอักเสบก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์
พยาบาลทราบ และรักษา รวมทั้งเสี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดอาการได้
อาการ
ที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเหล่านี้
ผู้ป่วยจะซีดลงทันทีเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด
จะสังเกตเห็นปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโคล่า เนื่องจาก
ฮีโมโกลบินในใดเลือดแดงถูกกรองออกมากับไต ซึ่งจำเป็นต้องนำส่ง โรงพยาบาล
เพื่อให้การรักษาแบบประคับประคองทันที อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อเม็ด
เลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้คือ ภาวะไตวาย
เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลัน
เพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง (เม็ดเลือดแดงแตกหมด)
และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง
การรักษา เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้เลือด, การให้น้ำในประมาณที่เพียงพอป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดจะ หยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดในขณะนี้
การรักษา เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้เลือด, การให้น้ำในประมาณที่เพียงพอป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดจะ หยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดในขณะนี้
อาหาร
ต้องห้าม หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทำให้เกิดอาการ นอกจากยาแล้ว
อาหารที่รับประทานก็พบว่ามีผลต่อเม็ดเลือดของผู้ป่วยเช่นกัน
นั่นคือถั่วปากอ้า (Fava bean) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถั่วนั้นยังดิบอยู่
และลูกเหม็น (naphthalene) และมะรุมไม่ควรรับประทานใบและเมล็ดมะรุม
เพราะมีสารชนิดเดียวกับที่มีอยู่ในถั่วปากอ้า
* ข้อสำคัญ ไม่ควรรับประทานใบและเมล็ดมะรุมมากเกินไป ถึงแม้จะเป็นพืชสมุนไพรจากธรรมชาติแต่มีสารบางตัวที่เข้าร่างกายมากเกินไปแล้วจะเป็นพิษทันที ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันมะพร้าว หากเข้าร่างกายแล้วจะไม่มีอาการเป็นพิษข้างต้น เนื่องจากสารประกอบหลักของน้ำมันคือ กรดลอลิก 50-60% ที่อยู่ในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นสารเดียวกับในน้ำนมมารดาที่คลอดบุตร จึงมีความโดดเด่นและแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามควรใช้น้ำมันมะรุมเพื่อภายนอกเท่านั้น ไม่ควรรับประทานแคปซูลมะรุมหรือน้ำมันมะรุมมากเกินไป ส่วนการรับประทานน้ำมันมะพร้าวสามารถรับประทานมากได้เพียงแต่ไม่มีประโยชน์ แต่ไม่เกิดโทษเท่านั้นเอง การรับประทานอะไรก็ตามควรดูที่ความเหมาะสม ไม่มากเกินไป จะเกิดความสมดุลของชีวิตได้ดีขึ้น การทานมะรุมควรทานแบบปรุงอาหารไม่ควรเน้นทานเป็นยา เพราะจะได้อาหารเลิศรสจากฝักมะรุมมากกว่าทานแบบน้ำมันสกัดทางยา
เช่นเดียวกันการทานน้ำมันมะพร้าว จะให้อร่อยต้องทานแบบปรุง จะทานง่ายกว่าอร่อยกว่าทานแบบเพียว ๆ เช่น การนำไปราดบนไอศรีม , การนำไปหุงกับข้าวสวยปรุงด้วยกระเทียมพริกไทยทุกเล็กน้อยจะหมอเหมือนข้าวมันไก่เชียวล่ะ , หรือจะนำไปใส่สลัดผักเป็นน้ำปรุงสลัดแทนน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ก็ทานอร่อยไปอีกแบบ
หลายคนบอกว่าเคยทานน้ำมันมะพร้าวแล้วทานยากมากเลี่ยนสุด ๆ เลยขอแนะนำเทคนิคอีกวิธีสำหรับการรับประทานจากลูกค้ามาฝากคะ
- ให้รินน้ำมันมะพร้าวใส่แก้วเล็ก ๆ หรือเรียกว่าแก้วเป็กที่รู้จักกันทั่วไป ในปริมาณที่ต้องการ เช่น น้ำหนักไม่เกิน 70 กก. แนะนำไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ
- ให้ทานเพียว ๆ ทันทีอึกเดียวให้หมด
- ทานตามด้วยน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำโซดา เป็นต้น
- สามารถทานอาหารตามได้ทันที
เท่านี้ก็จะลดความเลี่ยนไปได้มาก ที่สำคัญคือให้ตามด้วยเครื่องดื่มที่มีความเปรี้ยวเล็กน้อย หรือโซดา เพื่อตัดความเลี่ยนของน้ำมัน หลังจากรับประทานไปแล้ว น้ำมันมะพร้าว จะอยู่ใต้กระเพาะอาหาร ทำให้ย่อยไปได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว จะเกิดความอิ่มนาน ไม่หิวอาหารจุกจิกในระหว่างมื้อ ทำให้ช่วยดึงพลังงานเก่า ๆ มาใช้ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย สามารถนำไปใช้กับผู้ที่ต้องการควบคุมอาหาร ลดความอ้วนได้อย่างดี ต่างประเทศนิยมนำไปใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงกับนักกีฬา เพราะไม่มีสารต้องห้ามเมื่อตรวจเจอ และเพิ่มพลังงานให้แก่นักกีฬา ผู้ใช้แรงกายมาก หรือกับผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีอีกด้วย
โดย www.vannaherb.com
www.facebook.com/vannaherb
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น